วัดพระทอง (พระผุด)
พระผุด หรือพระทอง เป็นพระพุทธรูปผุดจากดินโผล่แค่พระศอ สูงถึงพระเกษ ๑ (๒๔๔.๕ เซนติเมตร) วัสดุทองคำภายนอกก่ออิฐถือ ปูนเป็นพระครึ่งองค์สวมทับอีกชั้นหนึ่ง แงค์เดิมไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้าง ในสมัยใด มีการปฏิสังขรณ์ครอบองค์เดิมหลายครั้ง เป็น พระพุทธรูปเก่าแก่คู่มากับเมืองถลาง
ตามประวัติพระผุด กล่าวว่า เดิมเป็นบริเวณทุ่งนาเรียกว่าบ้านนา วันหนึ่งมีเด็กนำกระบือไปเลี้ยงเอาเชือกผูกเข้ากับสิ่งหนึ่งมี ลักษณะเหมือนแก่นไม้มีโคลนติดอยู่ เมื่อกลับไปบ้านเด็กก็เป็นลมตาย ส่วนกระบือก็ตายอยู่ตรงนั้นพอตกกลางคืน พ่อของเด็กผู้ตาย ฝันว่า ที่เด็กและกระบือตายเนื่องจากไปผูกเชือกไว้กับพระเกศของพระพุทธรูป มีเกศเป็นทองคำงดงามยิ่ง จึงพากันไปแจ้งให้ เจ้าเมืองทราบ ได้สั่งขุดแต่ไม่สำเร็จเพราะมีตัวต่อและตัวแตนทำร้าย เจ้าเมืองจึงสั่งให้ทำเป็นหลังคาคลุมพระเกศไว้ และสักการะบูชา กราบไหว้กันตลอดมา
คนจีนโบราณเล่าขานกันว่า สมัยเมื่อธิเบตรุกรานจีนและตีได้เมืองเซี่ยงไฮ้ มีพระพุทธรูปทองคำชื่อว่า"กิ้ม มิ่นจ้อ" ถูกชาวธิเบต นำลงเรือมาทางทะเลจีนเข้ามายังมหาสมุทรอินเดียเพื่อต่อไปยังประเทศธิเบต เรือเกิดถูกพายุพัดเข้ามายังฝั่งพังงาและจมลงตรงนี้ เอง พระพุทธรูปได้จมลงมีคนมาพบเห็นดังกล่าว นอกจากเพื่อป้องกันโจรภัยแล้ว ชาวบ้านเชื่อกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีความประสงค์ ที่จะประดิษฐานอยู่ในพื้นดินต่อไป จึงพากันสร้างพระพุทธรูปเพียงครึ่งองค์สวมทับพระทองคำที่อยู่ใต้ชั้นพื้นดิน อีกชั้นหนึ่ง พระบาทสม เด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จประพาสจังหวัด ภูเก็ต พระราชทานนามวัดว่า "วัดพระทอง" พระผุด มีอีก ชื่อหนึ่งคือ หลวงพ่อพระทอง เป็นพระประธานอยู่ที่วัดพระทอง หรือ วัดพระผุด หรือวัดนาใน วัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านนาใน ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต สามารถไปได้จากตัวเมืองภูเก็ต ใช้ทางหลวงหมายเลข 402 พอถึง อ.ถลาง ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปยังวัดพระทองตามป้ายที่บอกข้างทาง
สามารถติดตามข่าวสารภูเก็ต และ สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตได้ที่ "คลิ๊กที่นี่"
สนับสนุนข้อมูลอย่างเป็นทางการโดย
สนับสนุนข้อมูลอย่างเป็นทางการโดย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น